บาส เกตบอล (อังกฤษ: basketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน
ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ ไนสมิท บาส เกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากลโลก กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากในวายเอ็มซีเอลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพ มีการจัดตั้งลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
บาส ( Basketball ) เป็นกีฬาประจำชาติอเมริกัน ถูกคิดขึ้น เพื่อต้องการช่วยเหลือบรรดาสมาชิก Y.M.C.A. ได้เล่นกีฬาในฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวสภาพพื้นภูมิประเทศโดยทั่วๆไป ถูกหิมะปกคลุมอันเป็นอุปสรรคในการเล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น อเมริกันฟุตบอล เบสบอล คณะกรรมการสมาคม Y.M.C.A. ได้พยายามหาหนทางแก้ไขให้บรรดาสมาชิกทั้งหลายได้เล่นกีฬาในช่วงฤดูหนาวโดยไม่บังเกิดความเบื่อหน่าย
ในปี ค.ศ.1891 Dr.James A.Naismith ครูสอนพลศึกษาของ The International Y.M.C.A. Training School อยู่ที่เมือง Springfield รัฐ Massachusetts ได้รับมอบหมายจาก Dr.Gulick ให้เป็นผู้คิดค้นการเล่นกีฬาในร่มที่เหมาะสมที่จะใช้เล่นในช่วงฤดูหนาว Dr.James ได้พยายามคิดค้นดัดแปลงการเล่นกีฬาอเมริกันฟุตบอลและเบสบอลเข้าด้วยกันและให้มีการเล่นที่เป็นทีมในครั้งแรก Dr.James ได้ใช้ลูกฟุตบอลและตะกร้าเป็นอุปกรณ์สำหรับให้นักกีฬาเล่น เขาได้นำตะกร้าลูกพีชไปแขวนไว้ที่ฝาผนังของห้องพลศึกษา แล้วให้ผู้เล่นพยายามโยนลูกบอลลงในตะกร้านั้นให้ได้ โดยใช้เนื้อที่สนามสำหรับเล่นให้มีขนาดเล็กลงแบ่งผู้เล่นออกเป็นข้างละ 7 คน ผลการทดลองครั้งแรกผู้เล่นได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น แต่ขาดความเป็นระเบียบ มีการชนกัน ผลักกัน เตะกัน อันเป็นการเล่นที่รุนแรงในการทดลองนั้น ต่อมา Dr.James ได้ตัดการเล่นที่รุนแรงออกไป และได้ทำการวางกติกาห้ามผู้เล่นเข้าปะทะถูกเนื้อต้องตัวกัน นับได้ว่าเป็นหลักเบื้องต้นของการเล่นบาสเกตบอล Dr.James จึงได้วางกติกาการเล่นบาสเกตบอลไว้เป็นหลักใหญ่ๆ 4 ข้อ ด้วยกัน คือ
- ผู้เล่นที่ครอบครองลูกบอลอยู่นั้นจะต้องหยุดอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนที่ไปไหน
- ประตูจะต้องอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น และอยู่ขนานกับพื้น
- ผู้เล่นสามารถครอบครองบอลไว้นานเท่าใดก็ได้ โดยคู่ต่อสู้ไม่อาจเข้าไปถูกต้องตัวผู้เล่นที่
ครอบครองบอลได้
- ห้ามการเล่นที่รุนแรงต่างๆโดยเด็ดขาด ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่กระทบกระแทกกัน
เมื่อได้วางกติกาการเล่นขึ้นมาแล้วก็ได้นำไปทดลอง และพยายามปรับปรุงแก้กไขระเบียบดีขึ้น เขาได้พยายามลดจำนวนผู้เล่นลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน จนในที่สุดก็ได้กำหนดตัวผู้เล่นไว้ฝ่ายละ 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดกับขนาดเนื้อที่สนาม Dr.James ได้ทดลองการเล่นหลายครั้งหลายหน และพัฒนาการเล่นเรื่อยมา จนกระทั่งเขาได้เขียนกติกาการเล่นไว้เป็นจำนวน 13 ข้อ ด้วยกัน และเป็นต้นฉบับการเล่นที่ยังคงปรากฏอยู่บนกระดานเกียรติยศในโรงเรียนพลศึกษา ณ Springfield อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
- สามารถโยนลูกบอลไปที่อื่นด้วยมือทั้ง 2 ข้างหรือมือเดียว
- สามารถตีลูกบอลได้ทั้งมือเดียวหรือ 2 มือ แต่ห้ามใช้กำปั้นทุบบอล
- ห้ามถือลูกบอลวิ่ง
- ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขน หรือลำตัว แต่ห้ามดึงลูกบอล
- ห้ามดัน ผลัก ฝ่ายตรงข้าม
- การกระทำตามข้อ 3-5 ถือว่าเป็นการฟาวล์
- หากผู้เล่นทีมเดียวฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม
- นับคะแนนเมื่อลูกบอลเข้าห่วงไปแล้ว หรือยังค้างที่ก้านห่วง แต่ถ้าผู้เล่นฝ่ายป้องกันไปสัมผัสหรือกระทบประตูก็นับคะแนนให้เช่นกัน
- หากลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้ามาเล่นในจุดที่บอลออก
- กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่คอยจดบันทึกการฟาวล์ และคอยช่วยผู้ตัดสินในด้านสถิติต่าง ๆ ทำให้ตัดสินได้ถูกต้องมากขึ้น
- ผู้ตัดสิน (referee) มีหน้าที่ตัดสินในสนามในจังหวะต่าง ๆ, จับเวลา, ให้คะแนนเมื่อเกิดการทำแต้ม, บันทึกคะแนน ฯลฯ
- การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 คะแนน โดยมีเวลาพักครึ่ง 5 นาที
- เมื่อจบการแข่งขัน ฝ่ายใดทำแต้มได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าเสมอกันก็ต้องเล่นต่อจนกว่าจะมีฝ่ายใดทำแต้มได้
- สามารถโยนลูกบอลไปที่อื่นด้วยมือทั้ง 2 ข้างหรือมือเดียว
- สามารถตีลูกบอลได้ทั้งมือเดียวหรือ 2 มือ แต่ห้ามใช้กำปั้นทุบบอล
- ห้ามถือลูกบอลวิ่ง
- ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขน หรือลำตัว แต่ห้ามดึงลูกบอล
- ห้ามดัน ผลัก ฝ่ายตรงข้าม
- การกระทำตามข้อ 3-5 ถือว่าเป็นการฟาวล์
- หากผู้เล่นทีมเดียวฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม
- นับคะแนนเมื่อลูกบอลเข้าห่วงไปแล้ว หรือยังค้างที่ก้านห่วง แต่ถ้าผู้เล่นฝ่ายป้องกันไปสัมผัสหรือกระทบประตูก็นับคะแนนให้เช่นกัน
- หากลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้ามาเล่นในจุดที่บอลออก
- กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่คอยจดบันทึกการฟาวล์ และคอยช่วยผู้ตัดสินในด้านสถิติต่าง ๆ ทำให้ตัดสินได้ถูกต้องมากขึ้น
- ผู้ตัดสิน (referee) มีหน้าที่ตัดสินในสนามในจังหวะต่าง ๆ, จับเวลา, ให้คะแนนเมื่อเกิดการทำแต้ม, บันทึกคะแนน ฯลฯ
- การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 คะแนน โดยมีเวลาพักครึ่ง 5 นาที
- เมื่อจบการแข่งขัน ฝ่ายใดทำแต้มได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าเสมอกันก็ต้องเล่นต่อจนกว่าจะมีฝ่ายใดทำแต้มได้
พรีเมียร์ลีก
More Stories
หากเสียมาเน “ลิเวอร์พูล” มีแผนทุ่มเงินพ่วง 1 ตัวแถม แลกสตาร์พรีเมียร์ลีกทดแทน
เคาะชื่อแล้ว “เทน ฮาก” พร้อมปล่อย 4 แข้งแมนยูฯ พ้นทีมซัมเมอร์นี้
คิดแก้แค้นหรือไม่ “คลอปป์” เปิดใจก่อนนำ ลิเวอร์พูล ดวล มาดริด นัดชิง UCL